ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างโมโนเรลกับระบบขนส่งแบบใหม่คือโครงสร้างของเส้นทางเดินรถไฟ (สำหรับรถไฟโดยทั่วไปจะเรียกว่าทางรถไฟ) เส้นทางเดินรถโมโนเรลถูกสร้างขึ้นด้วยคาน 1 เส้น ส่วนเส้นทางเดินรถของระบบขนส่งแบบใหม่มีโครงสร้างเหมือนกับทางด่วนสำหรับรถยนต์ และวิ่งบนเส้นทางดังกล่าวด้วยล้อยาง 4 ล้อต่อตู้โดยสารเช่นเดียวกับรถยนต์
※ สำหรับโมโนเรล จะมีแบบคร่อมรางซึ่งวิ่งในลักษณะที่ตู้โดยสารคร่อมบนคานคอนกรีต 1 เส้น (คานทางรถไฟ) กับแบบแขวนซึ่งจะวางตัวรถไฟด้านใน (หรือบน) คานที่มีรูปทรงกล่องเหล็ก และวิ่งโดยแขวนตัวรถไฟไว้บนคานดังกล่าว
"ยูริคาโมเมะ" คือนกนางนวลตัวเล็กที่มีจะงอยปากและขาเป็นสีแดงเข้ม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามิยาโกะโดริ (นกพรานหอย) ซึ่งมิยาโกะโดริในแม่น้ำสุมิดะที่ถูกนำมาแต่งไว้ในบทกวีญี่ปุ่นคือนกชนิดนี้นั่นเอง เป็นที่คุ้นเคยของชาวเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและในปี 1965 ถูกแต่งตั้งให้เป็น "นกของชาวเมือง" เรานำมาตั้งเป็นชื่อไม่เป็นทางการของระบบขนส่งแบบใหม่ที่วิ่งรถผ่านศูนย์กลางย่อยริมทะเล โดยทำให้เห็นภาพยูริคาโมเมะที่กำลังกระพือปีกเหนือท่าเรือโตเกียวเพื่อให้เป็นที่คุ้นเคยกับชาวเมืองเช่นเดียวกับนกยูริคาโมเมะดังกล่าว
รถไฟยูริคาโมเมะเปิดกิจการเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี 1995
ขณะนั้นกำลังมีการก่อสร้างโรงแรมในโอไดบะและบิ๊กไซต์ที่อาริอาเกะ ฯลฯ แต่เทเลคอมเซ็นเตอร์สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และสถานี MX TV (สถานีโทรทัศน์โตเกียวเมโทรโปลิแทน) ก็เปิดสถานีในวันนี้ด้วย จึงได้เปิดกิจการพร้อมกัน
วันธรรมดา (ตารางเวลา)
ออกนอกเมือง : ชิมบาชิ→โทโยสุ 224 เที่ยว ชิมบาชิ→อาริอาเกะ 13 เที่ยว อาริอาเกะ→โทโยสุ 10 เที่ยว
เข้าเมือง : โทโยสุ→ชิมบาชิ 219 เที่ยว อาริอาเกะ→ชิมบาชิ 18 เที่ยว โทโยสุ→อาริอาเกะ 16 เที่ยว
รวม : 500 เที่ยว
วันหยุด (ตารางเวลา)
ออกนอกเมือง : ชิมบาชิ→โทโยสุ 229 เที่ยว ชิมบาชิ→อาริอาเกะ 6 เที่ยว อาริอาเกะ→โทโยสุ 7 เที่ยว
เข้าเมือง : โทโยสุ→ชิมบาชิ 224 เที่ยว อาริอาเกะ→ชิมบาชิ 11 เที่ยว โทโยสุ→อาริอาเกะ 13 เที่ยว
รวม : 490 เที่ยว
การออกแบบสัญลักษณ์ชื่อสถานีได้นำลวดลายสมัยเอโดะที่มีมาช้านานในประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ ภายในอาคารอันทันสมัยที่มีภาพลักษณ์เยือกเย็นในสไตล์ของการผลิตเชิงอุตสาหกรรม การนำลวดลายสมัยเอโดะในยุคโบราณของประเทศญี่ปุ่นซึ่งนำลักษณะเด่นตามธรรมชาติมาใช้เป็นสื่อทำให้หวังว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย
ชื่อสถานีจะใช้ชื่อพื้นที่หรือชื่ออาคารสถานที่เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าใจง่าย และสามารถเชื่อมโยงพื้นที่จากชื่อสถานี
สำหรับชื่ออาคารสถานที่ เรากำหนดให้เป็นอาคารสถานที่ซึ่งเป็นหรือเทียบเท่ากับตัวแทนของพื้นที่ดังกล่าว และให้เป็นชื่อที่สามารถเชื่อมโยงพื้นที่ดังกล่าวได้
จากชิมบาชิถึงโทโยสุมีระยะทางให้บริการ 14.7 กิโลเมตร
เป็นระบบคมนาคมขนส่งขนาดกลางโดยรถไฟขนาดเล็กน้ำหนักเบาที่ใช้ล้อยางจะวิ่งบนทางยกระดับเฉพาะสำหรับรถไฟและใช้การควบคุมอัตโนมัติ
ตู้โดยสารมีความยาว 9 เมตร กว้าง 2.5 เมตร จุผู้โดยสารได้สูงสุด 50-60 คนต่อ 1 ตู้ สามารถขนส่งผู้โดยสารเที่ยวละประมาณ 10,000-15,000 คนต่อ 1 ชั่วโมง (กรณีที่มีตู้โดยสาร 6 ตู้)
กำลังขับเคลื่อนจะใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำ และวิ่งโดยขับเคลื่อนยางด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งใต้ตู้รถไฟ ในบริเวณทางโค้งจะใช้ล้อนำและหักเลี้ยวยางไปตามทิศทางการโค้งเช่นเดียวกับรถยนต์ และวิ่งโดยบังคับเลี้ยวอัตโนมัติไปตามเส้นโค้ง
(1) มีเสียงเบาและสั่นสะเทือนไม่มาก แทบไม่มีมลพิษจากการขนส่ง เช่น ไม่ปล่อยไอเสีย ฯลฯ
(2) สามารถขับได้อย่างราบรื่นแม้เป็นเส้นทางโค้งหักศอก (รัศมี 30 เมตรขึ้นไป) และทางลาดชัน (60 ต่อพัน)
(3) ทางยกระดับบนถนนสามารถประหยัดค่าที่ดิน ส่วนรถไฟขนาดเล็กและน้ำหนักเบาก็สามารถลดค่าก่อสร้างโครงสร้างรางรถไฟ (ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน) จึงสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
(4) สามารถเดินรถตามเวลาที่กำหนดในระยะทางที่ใช้เวลาสั้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม
(5) ในการขับขี่ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์โดยไม่ใช้พนักงานขับรถไฟ สามารถเพิ่มเที่ยวพิเศษและขับตลอดทั้งคืน ฯลฯ ได้อย่างสะดวก รวมทั้งสามารถให้บริการเดินรถที่สอดคล้องกับสภาพการใช้บริการ
สำหรับวิธีการที่ใช้พนักงานขับรถไฟ อาจไม่สามารถให้บริการผู้โดยสารอย่างเพียงพอ เช่น การเพิ่มเที่ยวพิเศษเมื่อผู้โดยสารเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และการขับรถไฟตลอดทั้งคืนในวันสิ้นปี ฯลฯ
ส่วนการขับขี่อัตโนมัติโดยไม่มีพนักงานขับรถไฟ หากรถไฟพร้อมแล้วก็สามารถขับเที่ยวพิเศษได้ทุกเมื่อ เวลาเดินรถก็เที่ยงตรง และสามารถโดยสารโดยไม่ต้องรอนานแม้ในเวลาที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่น
อุปกรณ์หลัก ๆ ทั้งหมดที่ใช้ควบคุมการขับรถไฟและเฝ้าสังเกตสภาพการณ์นั้นมีมากกว่าหนึ่งระบบและเป็นโครงสร้างที่รักษาความปลอดภัยแม้มีความขัดข้องโดยไม่ต้องกังวลว่าจะขับขี่หรือแสดงผลผิดพลาดอันเกิดจากความบกพร่องของอุปกรณ์
รถไฟที่ขับโดยไม่มีพนักงานขับรถไฟจะขับขี่อย่างปลอดภัยและแม่นยำ และมีการตรวจสอบสภาพการขับขี่อยู่ตลอดเวลาที่ศูนย์ควบคุมโดยใช้ระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (ATO) - อุปกรณ์ควบคุม ATO ของสถานี (การหยุดในตำแหน่งที่กำหนด) - อุปกรณ์ส่งข้อมูล ATO (เฝ้าระวังและควบคุมตู้โดยสารและอุปกรณ์) บนพื้นฐานของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยของระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ เช่น อุปกรณ์ควบคุมรถไฟอัตโนมัติ (ATC) - อุปกรณ์ตรวจจับตำแหน่งรถไฟ (TD) เช่นเดียวกับที่ใช้กับรถไฟใต้ดินและรถไฟชินคันเซ็น ฯลฯ
ชานชาลาและลานโถงภายในสถานีมีกล้องวงจรปิดติดตั้งตามจุดหลัก ๆ และเฝ้าสังเกตดูการโดยสารของผู้โดยสารอยู่เสมอ หากมีความผิดปกติ ศูนย์ควบคุมสามารถสั่งให้หยุดรถไฟหรือให้เจ้าหน้าที่ไปจัดการปัญหา
เมื่อเครื่องจำหน่ายบัตร เครื่องตรวจตั๋ว ลิฟต์ และบันไดเลื่อน ฯลฯ เกิดความขัดข้อง ตรง จะมีการแจ้งเตือนปรากฎขึ้นที่อุปกรณ์เฝ้าระวังของสถานีและศูนย์ควบคุม